ดีใจทั้งประเทศ พิธา รอดแล้ว ศาลรธน. ชี้ไอทีวีไม่ใช่สื่อ จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามสมัครสส.

วันที่ 24 ม.ค. 2567 เมื่อเวลา 09.30 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้เริ่มประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือลงมติ. กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ร้อง) ส่งคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส. (ผู้ถูกร้อง) เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชนใดๆ อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

เป็นเหตุให้สมาชิกภาพ ส.ส.ของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย และสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. นับแต่วันที่ 19 ก.ค.2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

ต่อมาเวลา 14.00 น. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย โดยก่อนศาลจะอ่านคำวินิจฉัยในกรณีดังกล่าวนั้น นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาล ได้ขอแจ้งให้คู่กรณีฟังว่า ศาลได้เคยแจ้งให้คู่กรณีฟังแล้วว่าในการไต่สวนพยานนี้ผู้ถูกร้องได้มีการขอขยายเวลายื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหา 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งละ 30 วัน 2 ครั้งเป็น 60 วัน ซึ่งศาลก็ได้อนุญาต ตามจริงแล้วคดีนี้ควรจะสิ้นไปก่อน 60 วันที่แล้ว ทำความเข้าใจร่วมกันไม่ใช่ว่าศาลล่าช้า

เรื่องที่สองศาลขอแจ้งต่อคู่กรณีว่า การที่ไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคดีในสื่อต่างๆนั้น ถือว่าเป็นการไม่สมควรและไม่เหมาะสม เพราะการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะบวกหรือลบก่อนคดีที่ศาลอาจจะเป็นการชี้นำเป็นการกดดันศาล ฉะนั้นการกระทำนี้จึงถือว่าไม่เหมาะสม จึงขอเตือนไว้ด้วย

ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอวินิจฉัยได้ มีประเด็นพิจารณาว่าสมาชิกภาพสส.ของนายพิธา สิ้นสุดลงมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากข้อพิรุธหลายประการ ฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องโอนหุ้นดังกล่าวจริง ถือว่าถือหุ้นไอทีวีอยู่ในวันที่พรรคก้าวไกลยื่นบัญชีรายชื่อต่อ กกต.ในฐานะผู้ร้อง

จึงต้องมีข้อพิจารณาต่อไปว่า ไอทีวี ประกอบกิจการสื่อสารมวลชนหรือไม่นั้น จากการไต่สวนฟังได้ว่า ไอทีวีไม่มีสิทธิประกอบกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายตั้งแต่ 7 มี.ค.2550 แต่ที่ยังคงสถานะเดิมเพื่อดำเนินคดีในชั้นศาลเท่านั้น นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าบริษัทมีรายได้จากกิจการสื่อมวลชน แต่มีรายได้จากการลงทุนและดอกเบี้ยรัฐ

ตั้งแต่สำนักปลัดสำนักนายกฯ (สปน.) บอกเลิกสัญญาจนถึงปัจจุบัน ไอทีวีไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชน และไม่ปรากฏหลักฐานมีใบอนุญาตจดแจ้งการพิมพ์และประกอบการกิจการโทรทัศน์

ดังนั้น วันที่ผู้ถูกร้องสมัครสส. ไอทีวี มิได้ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อใดๆ การถือหุ้นของผู้ถูกร้อง จึงไม่ทำให้มีลักษณะต้องห้ามสมัครสส. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) อาศัยเหตุผลดังกล่าว วินิจฉัยว่า สมาชิกภาพสส.ของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตาม ม.101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3)

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *