แมวแปลกตา หายาก ที่แท้เป็นแมวไทยโบราณ ตามตำราแบบเป๊ะๆ

จากกรณีที่ทางเพจ แมวสยาม cats of Thailand ได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องราวของแมวไทย เมื่อเจ้าของเฟสบุ๊ค @wanwisa Pingchai ได้โพสต์รูปแมวตัวหนึ่ง ที่มีสีสัน แปลกตา ซึ่งบ้างก็บอกว่าเป็นชูก้าไรเดอร์แปลงร่างมาบ้าง บ้างก็บอกว่าน้องเป็นแรคคูน ซึ่งเจ้าของโพสต์ได้มาอวดรูปน้อง ในกลุ่ม  ทาสแมว

แต่หลังจากที่ภาพดังกล่าวถูกแชร์ออกไป ทางเพจ แมวสยาม cats of Thailand ได้ออกมาพูดถึงน้องแมวตัวนี้ว่าเป็นแมวที่ถูกต้องตรงตามตำรา แมวไทยโบราณ ซึ่งหาชมได้ยาก หลายคนไม่เคยเห็นตำรานี้ แอดมินไม่ค่อยได้นำเสนอเท่าไหร่ เป็นตำราของพระยาทิพโกษา ถูกเก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ

เป็นตำราที่แปลกกว่าตำราอื่นๆ มีแมวไทยมากกว่า 23 ชนิด (มงคล 17 อัปมงคล 6) และเป็นตำราที่มีลักษณะของแมววิลาสมากที่สุดด้วย ตำราฉบับนี้เป็นสมุดข่อย พระยาทิพโกษาเป็นผู้บริจาคให้หอสมุดแห่งชาติในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ตำราถูกเขียนไว้ก่อนหน้านั้นนานมาก สันนิฐานว่าเขียนในสมัยรัชกาลที่ 4 – 5 และในตำรามีการอ้างอิงถึงอีกหลายๆตำราด้วย เช่น…

แมวตัวดังกล่าวอยู่ในส่วนท้ายของตำราพระยาทิพโกษา อ้างถึงตำรานายศรี หรือนายบุญศรีเสมียน วาดไม่เหมือนของตำรานายนุดถึง 4 ตัว และมีอีก 13 ตัวที่แปลกออกไปอีก ซึ่งน่าจะหมายถึงแมวมงคลในตำราที่รวมเป็น 17 ชนิด มีลักษณะแตกต่างจากตำราอื่นๆ เช่น ลายเส้นสีขาวของแมววิลาศ หรือลายด่างของแมวมุลิลา เป็นต้น

แมวตัวดังกล่าวอยู่ในหมายเลข 12
ด้านซ้าย – ตำรานายบุญศรีเสมียน [ads]
ด้านขวา – ตำนานนายนุด

เป็นแมวที่ไม่ถูกระบุว่าเป็นชนิดใด ชื่ออะไร รวมถึงไม่มีกลอนบอกกล่าวด้วย บอกเพียงว่า แมวตัวที่ 12 ของนายบุญศรีเสมียนและนายนุดเขียนไว้ไม่เหมือนกัน ส่วนแมวมงคลของพระยาทิพโกษา ยังคงมีแมวมงคลและอัปมงคล รวม 23 ชนิดเขียนไว้เหมือนเดิม ซึ่งอยู่ในส่วนครึ่งเล่มแรกของตำรา

ในปัจจุบันเรายังหาตำราของนายบุญศรีเสมียนและตำราของนายนุดไม่เจอ ไม่ทราบว่าเสื่อมสลายหรือถูกเก็บรักษาไว้ที่ไหน แต่น่าจะเก่าแก่มากถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หรืออ้างอิงได้ถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตำราของพระยาทิพโกษาได้เรียนวิชามาจากตำราดังกล่าวด้วย เป็นบุคคลเดียวกับที่จดบันทึกเรื่องราวของสมเด็จพุทธจารย์โต วัดระฆังฯ

โดยจากโพสต์นี้ทำให้เราได้ทราบกันว่า แมวลายนี้นอกจากจะมีลายสวยงาม แปลกตาแล้ว ยังเป็นแมวไทยหายาก ที่มีลักษณะตรงตามตำราเป๊ะเลยด้วย

ที่มา: แมวสยาม cats of Thailand

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *