อุทาหรณ์ น้ำตาอาบแก้ม ติดหนี้ 2.5 แสน โดนยึดที่ดิน 11 ไร่ ยังใช้หนี้ไม่หมด

จากกรณีที่สาวร้องขอความช่วยเหลือ หลังจากที่กู้เงินบริษัทชื่อดังแห่งหนึ่ง แต่ขาดส่งจนถูกกรมบังคับคดียึดโฉนดขายทอดตลาดไป 2 แปลง และกำลังจะถูกยึดอีก 1 แปลง รวมที่ดินทั้งหมด 11 ไร่ ย้อนคดีเก่าลูกหนี้ เอาโฉนดค้ำประกัน 2.5 แสน โดนยึดที่ดิน 3 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 11 ไร่ เมื่อปี 2553 ผู้เสียหายได้กู้เงินจากบริษัทหนึ่งมา ได้เงินมา 2.5 แสน โดยใช้โฉนดซึ่งเป็นที่ดิน 4 ไร่ค้ำประกัน

เมื่อผ่อนได้ 1 ปี จนเหลือยอดประมาณ 1 แสนบาท ปรากฏว่า สามีประสบอุบัติเหตุจึงขาดจ่าย และยอดหนี้รวมกับดอกเบี้ยได้ทบกันไปมาจนทำให้ยอดไปถึง 375,458 บาท เจ้าหนี้ไปฟ้องศาล และเรื่องได้ไปถึงกรมบังคับคดี กรมบังคับคดีได้นำที่ดินนี้ไปขายทอดตลาด จากราคาประเมิน 2.9 แสนบาท ขายได้ 2.7 แสนบาท เมื่อนำไปลบกับยอด 3.7 แสนบาท ก็เหลือยอดค้างที่ 1 แสนบาท

ผ่านไปจนถึงปี 2560 เมื่อไม่มีการชำระเงินยอด 1 แสนบาทที่ค้างเอาไว้ จึงมีการยึดที่ขนาด 3 ไร่ราคาประเมิน 9 แสนบาท ไปขายทอดตลาด แต่ที่ดินนี้ติดจำนองธนาคารไว้ที่ 8 แสนบาท และเมื่อขายทอดตลาดไปได้ 6 แสนบาท ก็ต้องเอาเงินส่วนนี้ไปจ่ายธนาคารก่อน ซึ่งนั่นเท่ากับว่า เงิน 1 แสนบาทยังคงค้างเจ้าหนี้ และค้างอีก 2 แสนบาทที่ธนาคาร

เจ้าหนี้ยืนยันว่าไม่ได้รับยอดชำระหนี้จากการขายในครั้งนี้ เท่ากับเสียที่ดิน 1 แปลง และติดหนี้เพิ่มมาอีก กระทั่งช่วงต้นปีที่ผ่านมา กรมบังคับคดีมีหนังสือแจ้งมาอีกรอบ เตรียมยึดที่ดินแปลงข้างบ้าน เนื้อที่ 3 ไร่กว่า ไปขายอีกรอบ เท่ากับว่า ตนเสียที่ดินไป 11 ไร่ จากยอดหนี้เพียง 2.5 แสนบาทเท่านั้น หนี้ไม่ลด ตนจึงอยากให้ผู้รู้ทางกฎหมายมาช่วยด้วย

ต่อมา โจทก์แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า ยังไม่ได้รับชำระหนี้ พร้อมขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามคำพิพากษา คือ การยึดที่ดิน ที่มีชื่อของสาวเชียงรายเป็นผู้ถึงกรรมสิทธิ์ออกขายทอดตลาด ผลคือ การขายที่ดินดังกล่าวยังไม่พอชำระหนี้ จึงขอให้ยึดทรัพย์สินจำเลยที่ 1 เพิ่มเติม เป็นที่ดินที่ติดจำนองสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง แต่ก็ยังไม่พอ

ดังนั้นโจทก์ สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอยึดทรัพย์สินจำเลยทั้ง 3 ได้อีก แต่ว่ากรมบังคับคดี พอทราบความเดือดร้อนของจำเลย จึงให้ความช่วยเหลือในการเจรจาหาทางออกร่วมกัน วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงราย สาขาเทิง ทั้งนี้ กรมบังคับคดี ให้ความสำคัญกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีมาตลอด

โดยกำหนดมาตรการให้เจ้าหน้าที่ทราบเอาไว้ ถ้าหากลูกหนี้แสดงความประสงค์ต้องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีและสามารถเจรจาการชำระหนี้กับเจ้าหนี้ได้สำเร็จ ก็ไม่เกิดการขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ และลูกหนี้สามารถชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ขอให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ว่าจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์แล้วหรือไม่ ใช้ช่องทางนี้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อแก้ปัญหาได้ จะได้ไม่ถูกบังคับคดีอีกต่อไป

ที่มา: กระทรวงยุติธรรม, โหนกระแส

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *