วิจารณ์สนั่นโซเชียล ยูทูบเบอร์สาว เปิบค้างคาว ซดน้ำกินโชว์

จากกรณีคลิปที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ โดยหญิงสาวรายหนึ่ง ลงคลิปกำลังเปิบค้างคาวทำให้หลายๆค นที่เห็นคลิปดังกล่าวต่างก็เป็นห่วงว่าจะเกิดอันตรายอะไรหรือไม่ และชาวโซเชียลวิพากวิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก ดดยล่าสุดวันที่ 8 พ.ย. 2565 ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึงกรณีครูสาวทำคลิปกินค้างคาว เป็นที่ตะลึงไปทั่วออนไลน์ว่า…

ไม่ควรทำ เพราะสัตว์แปลกแบบนี้กินแล้วอันตรายแน่นอน เพราะค้างคาวเป็นสัตว์ตามธรรมชาติที่เป็นแหล่งงเชื้อโรค ซึ่งมนุษย์ยังไม่เคยสัมผัส บางชนิดก็ติด เชื้อจากสัตว์สู่คนได้ การทำแบบนี้มีโอกาสที่จะปนเปื้อน เชื้อโรคได้ ขนาดนักวิจัยที่ไปเก็บตัวอย่างสัตว์ป่า ยังต้องสวมชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) คนทั่วไปแทบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเลย

ฉะนั้นก็เสี่ยงอันตรายได้ รวมถึงการกินอาหารไม่สุกก็มีโอกาสติดเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย และไวรัส ดังนั้น สัตว์ป่าทุกอย่างเราต้องปล่อยเขาอยู่ในป่า ไม่ควรสัมผัส หรือบริโภค ค้างคาวนั้นเป็นสัวต์ที่มีไวรัสเยอะมาก เช่นไวรัสที่ทำให้เกิด อีโบลา (Ebola) รวมถึงทำให้เกิด CV-19 และอีกหลายตัว ดังนั้น ไม่ควรไปสัมผัสกับค้างคาว

โดยค้างคาวที่อยู่ในถ้ำเป็นระบบปิด อยู่กันเป็นกลุ่มก้อน อยู่ถ้ำ ก็มีโอกาสสัมผัสเ ชื้อได้ เพราะเจอว่ามีไวรัสโคโรนาอยู่ในปัส สา วะค้างคาว แต่ยังไม่กระโดดมาคน แต่วันหนึ่งถ้าไวรัสเก่งขึ้น ก็กระโดดมาคนได้ ที่ผ่านมามีรายงานพบ ฮิส โต พลาส โมซิส ทำให้เกิดราในคนที่เข้าไปในถ้ำค้างคาว เกิดภาวะปอด อักเสบ

ส่วนก่อนจะนำค้างคาวมาปรุงสุก ต้องผ่านกรรมวิธี ทำให้สัมผัสสารคัดหลั่งในค้างคาว สำหรับปัญหาของโรคที่มาจากสัตว์ป่าจะพบในแอฟริกาเยอะ เพราะเป็นประเทศที่ไม่ได้เลี้ยงไก่ หมูเหมือนบ้านเรา เขาก็จะล่าสัตว์ป่ามากิน แต่บ้านเรามีสัตว์เลี้ยง มีแหล่งอาหารเต็มไปหมด จึงไม่ควรไปยุ่งกับสัตว์ป่า

จากการสำรวจค้างคาวในไทย คล้ายกับไวรัสซาร์ส เพียงแต่ยังไม่กระโดดจากสัตว์มาคน แต่หากวันหนึ่งที่ไวรัสพร้อม ก็อาจทำให้เกิดได้ ดังนั้น จะมีความเสี่ยง ซึ่งจริงๆ พบได้มาก อย่างที่ลาวมีรายงานใกล้เคียงกับไทย ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงค์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุม กล่าวว่า ไม่ควรรับประทานค้างคาว เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าและปกติมีโซนาร์ในตัว เป็นสัตว์ที่บินสูงไม่น่าที่จะจับมารับประทานได้

ชมคลิป…

ที่มา: bbee1984

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *