อัยการจัดให้ เตรียมส่งฟ้อง 6 ผู้ต้องหา คดีแตงโม ปอ ตนุภัทร โดนหนักสุด

ในวันนี้ 27 พ.ค. 2565 อัยการจังหวัดนนทบุรี เผยว่า… ครบกำหนดที่ผู้ต้องหาทั้ง 6 คน ในคดีการจากไปของแตงโม นิดา ต้องเดินทางมารายงานตัวตามคำสั่งของอัยการจังหวัดตามที่ได้มีคำสั่งส่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 6 คนต่อไป ตามข้อหาดังนี้…

1.นายตนุภัทร เลิศทวีวิทย์ หรือ ปอ

2.นายไพบูลย์ ตรีกาญจนานันท์ หรือ โรเบิร์ต

3.นายวิศาพัช มโนมัยรัตน์ หรือ แซน

4.นายนิทัศน์ กีรติสุทธิสาธร หรือ จ๊อบ
5.นางสาวอิจศรินทร์ จุฑาสุขสวัสดิ์ หรือ กระติก

6.นายภีม หรือ เอ็ม ธรรมธีรศรี กุนซือ ถูกดำเนินคดี ทำลายพยานหลักฐานฯ ข้อหาเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่น แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ด้านนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ถึงกรณีที่ว่าหากอัยการมีคำสั่งฟ้องในคดีแล้ว

คุณแม่ภนิดา ซึ่งเป็นผู้เสียหาย ได้ยื่นคำร้องขอเป็นโจทก์ร่วม คุณแม่จะสามารถนำพยานหลักฐานอื่นๆ นอกเหนือจากที่มีอยู่ในสำนวนของอัยการ เช่น หลักฐานของนายอัจฉริยะ มาเข้าร่วมพิจารณาได้หรือไม่ โดยนายประยุทธ กล่าวว่า ในการสั่งคดีแตงโม ตอนนี้ยังให้ความเห็นไม่ได้ เพราะยังไม่ทราบว่าพนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีจะมีการสั่งฟ้องหรือไม่ หรือคุณแม่แตงโมจะยื่นขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือไม่

จึงจะยังไม่ก้าวล่วง แต่ถ้าตอบตามหลักการของข้อกฎหมายที่ใช้ได้กับคดีอาญาทุกคดีทั่วไป กฎหมายระบุไว้ว่า คดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาล ฝ่ายผู้เสียหายสามารถที่จะยื่นคำร้องต่อศาล ขอเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้ ในระยะใดก็ตามก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา ซึ่งศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่

หากศาลอนุญาตให้ผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการแล้ว หากอัยการเห็นว่าผู้เสียหายที่เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จะกระทำหรือไม่กระทำการใดที่ทำให้คดีของอัยการเสียหาย หรือกระบวนการพิจารณาของศาลเสียหาย อัยการก็มีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายให้ละเว้นการกระทำได้

ดังนั้น ในเรื่องพยานหลักฐาน เมื่อผู้เสียหายมาเป็นโจทก์ร่วมแล้ว พยานหลักฐานทั้งหมดของอัยการ ให้ถือว่าเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ร่วมด้วย เมื่อพนักงานอัยการนำสืบพยานหลักฐานใดเสร็จสิ้นแล้ว หากฝ่ายผู้เสียหายมีพยานหลักฐานอื่นที่จะมานำสืบเพิ่มเติมนอกเหนือจากพยานหลักฐานของอัยการ ก็สามารถทำได้ แต่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า พยานหลักฐานดังกล่าวจะต้องเป็นการทำให้สำนวนแน่นแฟ้นสมบูรณ์ ทำให้พยานหลักฐานหนักแน่นมากขึ้นในทิศทางเดียวกัน

แต่หากผู้เสียหายเอาพยานหลักฐานใดก็ตามมาสืบ แล้วไปขัดแย้งกัน หรือทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานของอัยการ ก็จะทำให้คดีเกิดความเสียหาย อัยการสามารถเสนอต่อศาลให้สั่งหยุดการกระทำของฝ่ายผู้เสียหายได้ ซึ่งสุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าจะสั่งอย่างไร

แต่ตั้งแต่ตนทำหน้าที่เป็นพนักงานอัยการมา ยังไม่เคยมีกรณีที่ผู้เสียหายนำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของอัยการ เพราะการที่ผู้เสียหายยื่นขอเป็นโจทก์ร่วม ภารกิจหลักคือเพื่อทำให้คดีสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นหรือเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย โดยหลักฐานที่อัยการนำสืบส่วนใหญ่จะแน่นแฟ้นสมบูรณ์อยู่แล้ว

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *